3836 จำนวนผู้เข้าชม |
Pride Month
เดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นเดือนที่เรียกว่า Pride Month คือเดือนแห่งการเฉลิมฉลอง LGBTQ (Lesbian, Gay, Bisexual, Trans and Queer) และการสนับสนุนความเท่าเทียมกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ จะมีการประดับประดาธงสีรุ้ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ ตามอาคารบ้านเรือนและมีการเดินพาเหรดที่เรียกว่า Pride Parades เพื่อสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของกลุ่ม LGBTQ
การจดทะเบียนสมรส
ในประเทศไทยกฎหมายการจดทะเบียนสมรสรองรับเฉพาะคู่ชายหญิงเท่านั้น ซึ่งการแก้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถจดทะเบียนในคู่ที่มีเพศหลากหลาย จะทำได้ยาก และใช้เวลานาน จึงทำให้หลายฝ่ายเห็นด้วยกับการผ่านร่าง พรบ.สมรสเท่าเทียมแทน
ปัญหาจากการจดทะเบียนสมรสไม่ได้
เมื่อมีการใช้ชีวิตด้วยกันก็จะมีการสร้างทรัพย์สมบัติร่วมกัน ยิ่งเปิดบริษัทร่วมกัน เรื่องเงินก็ยิ่งต้องวางแผน ถ้าใครคนหนึ่งเป็นอะไรไป ปัญหาอาจเกิดตามมา รวมทั้งกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยที่ต้องมีผู้เซ็นยินยอมในการรักษา จึงเห็นควรหาทางให้มีกฎหมายเพื่อคู่รักหลากเพศสามารถรับสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินยามมีชีวิตอยู่และการส่งมอบทรัพย์สินเมื่อยามจากไป
การกู้ซื้อบ้าน
เมื่อไม่สามารถจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฏหมายได้ ทำให้เมื่อยื่นกู้กับธนาคารซึ่งถึงแม้จะประกาศว่า เปิดรับให้คู่รักเพศเดียวกันยื่นกู้ร่วมได้ ก็อาจต้องแสดงหลักฐานการอยู่ร่วมกันแทนทะเบียนสมรส เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เอกสารค่าใช้จ่ายที่ระบุที่อยู่เดียวกัน การจดทะเบียนบริษัทร่วมกัน หรืออาจมีเงื่อนไขบางอย่างที่แตกต่างจากคู่สมรสชายหญิง เช่นให้ยื่นกู้ร่วมแบบถือกรรมสิทธิ์ร่วมได้ แต่พิจารณาวงเงินกู้จากผู้ที่มีรายได้มากกว่าเพียงคนเดียวเท่านั้น
พรบ.คู่ชีวิต
ข้อจำกัดของ พรบ. คู่ชีวิตของไทย สร้างขึ้นมาเพื่อคู่รักเพศเดียวกันเท่านั้น แตกต่างจากที่ต่างประเทศซึ่งใช้ได้ทุกเพศ ทำให้เกิดความไม่เสมอภาค และเนื้อกฎหมายก็มีความไม่เท่าเทียมกัน เช่นไม่สามารถใช้เทคโนโลยีในการมีบุตรได้ ไม่สามารถรับสวัสดิการข้าราชการ และอาจไม่สามารถรับสิทธิ์ที่ระบุไว้ตามกฏกระทรวง กฎระเบียบของเอกชนหรือกฏอื่นๆที่คู่สามีภรรยาที่เป็นคู่สมรสตามกฎหมายได้รับตามปกติ
พรบ.สมรสเท่าเทียม
เมื่อ พรบ.คู่ชีวิตมีช่องโหว่ของความไม่เท่าเทียม จึงเกิดการผลักดันให้มี พรบ.สมรสเท่าเทียมเกิดขึ้น เพื่อรับรองคู่รักกลุ่มหลากหลายทางเพศให้สามารถรับสิทธิในฐานะผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เช่น สิทธิผูกพันทางราชการและลูกจ้างเกี่ยวกับสวัสดิการ สิทธิการให้ความยินยอมแก่แพทย์ในการรักษาพยาบาลคู่ชีวิต สิทธิการทำนิติกรรมหรือธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการยื่นกู้ร่วม การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การรับมรดก และสินสมรสที่ร่วมสร้างกันมา รวมทั้งความสัมพันธ์ สิทธิ หน้าที่ระหว่างบิดามารดาบุตร และสิทธิการใช้ชื่อสกุลร่วมกัน
ปัจจุบัน พรบ.สมรสเท่าเทียมยังอยู่ในระหว่างการรวบรวมรายชื่อได้กว่า 350,000 รายชื่อ เพื่อเสนอเป็นกฎหมายร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อรัฐสภา
เป็นพี่น้องบุญธรรม
ในปัจจุบัน หากคู่ LGBTQ ต้องการมีความผูกพันกันตามกฏหมาย ทางเลือกหนึ่งคือการให้พ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจดทะเบียนรับอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมโดยควรได้รับความเห็นชอบจากพี่น้องและพ่อแม่ของทั้ง 2 ฝ่ายด้วย ก็จะทำให้ทั้งคู่เป็นพี่น้องบุญธรรมกันถูกต้องตามกฏหมาย ใช้นามสกุลเดียวกันได้ ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องระวังประเด็นทรัพย์สมบัติเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตที่ต้องแบ่งให้ลูกทุกคนรวมทั้งลูกบุญธรรมด้วย โดยแก้ปัญหาได้ด้วยการให้พ่อแม่ฝ่ายที่รับบุตรบุญธรรมทำพินัยกรรมล่วงหน้า
ผู้รับผลประโยชน์ในประกันชีวิต
ถึงแม้ตามกฎหมายจะไม่ถือว่าคู่รัก LGBTQ เป็นคู่สมรส แต่ในหลายๆบริษัทก็ให้สิทธิ์ในการเป็นคู่ชีวิต เช่น บริษัทประกันชีวิตบางแห่งสามารถระบุว่าเป็นคู่ชีวิตและให้เป็นผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิตได้โดยไม่ต้องยื่นเอกสารยืนยันความสัมพันธ์อื่น เช่น ไม่ต้องมีทะเบียนบ้านหรือเปิดบัญชีธนาคารร่วมกัน การส่งมอบทรัพย์สินผ่านประกันชีวิตจึงเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายวิธีหนึ่ง
การทำพินัยกรรม
เนื่องจากคู่ชีวิตที่ไม่มีทะเบียนสมรส ไม่สามารถเป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดกได้ หากไม่ทำพินัยกรรม สุดท้ายทรัพย์สมบัติของผู้ที่จากไปก่อนจะตกสู่ทายาทตามกฎหมายของผู้เสียชีวิตเท่านั้น ซึ่งนั่นไม่รวมถึงคู่ชีวิต LGBTQ ดังนั้นการส่งมอบทรัพย์สินให้คู่ชีวิตโดยไม่ต้องรอ พรบ.สมรสเท่าเทียม สามารถทำได้โดยการเขียนพินัยกรรมทั้งแบบที่เขียนเองไม่ต้องมีพยานแต่ควรมีผู้รับรู้ กับแบบที่ทำโดยมีต้องมีพยานลงลายมือชื่อ
แบบแรก พินัยกรรมที่เขียนเองด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ
แบบนี้จำเป็นจะต้องมีวันที่ หากไม่ระบุวันที่ถือเป็นโมฆะ และหากมีรอยแก้ไขต้องเซ็นกำกับพร้อมลงวันที่ที่แก้ไขเสมอ แบบนี้ไม่ต้องมีพยานแต่ควรมีผู้รับรู้ มิฉะนั้นเมื่อเสียชีวิต หากไม่มีคนพบพินัยกรรมก็มีค่าเท่ากับไม่มีการทำพินัยกรรม ทรัพย์สินก็ไม่อาจถึงมือคู่ชีวิต
แบบที่ 2 พินัยกรรมที่ทำโดยมีต้องมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน
แบบนี้อาจทำเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา เป็นเอกสารฝ่ายเมือง เป็นเอกสารลับหรือเป็นพินัยกรรมที่ทำด้วยวาจาก็ได้ แบบนี้ข้อควรระวังก็คือ คู่ชีวิตที่จะให้รับมรดกต้องไม่เซ็นเป็นพยาน เพราะคนที่เป็นพยานจะไม่มีสิทธิ์ในการรับมรดก
บทสรุป
จะเห็นว่า ถึงแม้ปัจจุบันกฏหมายจะยังไม่รองรับให้คู่ชีวิต LGBTQ มีสิทธิ์เท่ากับคู่สมรสจดทะเบียน แต่เราก็สามารถส่งมอบทรัพย์สินด้วยการทำพินัยกรรมและทำประกันชีวิตแบบระบุคู่ชีวิตเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ และหวังว่าการรณรงค์ผลักดัน พรบ.สมรสเท่าเทียมเข้าสู่สภา เพื่อให้คู่ชีวิตจากหลากหลายเพศสภาพ มีความเท่าเทียมกับคู่หญิงชายในทุกๆด้าน จะสัมฤทธิ์ผลในเร็ววัน เพื่อให้ทุกคนได้มีความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
==========================
ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน พร้อมเบี้ยจ่ายและเงินรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS หรือ 0849290088
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันหลากหลายให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ
ติดต่อสอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
ผู้จัดการขาย Triple A บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
Facebook: Wangpaan
Youtube: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ