CI Perfect Care มีโอกาสรับเงิน 100%สูง (เบี้ยไม่ทิ้ง) เริ่มเคลมตั้งแต่ระยะแรก

 


ประกันสุขภาพสำหรับโรคร้ายแรงมีหลายแบบ วันนี้ทาง วางแผน.com ขอแนะนำแบบที่คุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพ ครอบคลุมทั้งระยะเริ่มต้น ระยะกลาง และระยะรุนแรงของโรคร้ายแรง คือ

คุ้มครองทุกกรณี แบบซีไอ เพอร์เฟค แคร์ (CI Perfect Care


CI Perfect Care

ที่แบบนี้มีชื่อว่า Perfect แปลว่าสมบูรณ์แบบ เพราะ
* คุ้มครองทุกกรณีอย่างสมบูรณ์ 
* เคลมได้ทุกระยะของโรคร้าย ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นถึงระยะสุดท้าย
* เคลมได้หลายครั้ง หลายอาการ
* คุ้มครองเสียชีวิตทั้งจากการเจ็บป่วยและจากอุบัติเหตุด้วย และต่ออายุประกันได้ถึงอายุ 85 ปี ทำให้มีโอกาสสูงที่จะได้เคลมตามวงเงินความคุ้มครองที่ทำ เนื่องจากอายุขัยของคนไทยจะประมาณ 76-80 ปี ทำให้เบี้ยที่จ่ายมีโอกาสสูงที่จะเป็นเบี้ยไม่ทิ้งได้

ตัวอย่าง ผู้ทำประกัน ทำคุ้มครอง CI Perfect Care ไว้ 1,000,000 

*** เสียชีวิต (ทุกกรณี) ทั้งอุบัติเหตุ เจ็บป่วยธรรมดา หรือเจ็บป่วยโรคร้ายแรง รับ 1,000,000
*** โรคร้ายแรงระยะแรก 35 โรค เคลมได้ 25% คือ 250,000
*** โรคร้ายแรงระยะกลาง 35 โรค เคลมได้ 50% แปลว่า ถ้าไม่เจอตอนเป็นระยะแรก มาเจอตอนที่เป็นระยะกลางแล้ว ถ้าทำ 1 ล้านก็รับ 500,000 ทันที (แต่ถ้าเคลมระยะแรกไปแล้ว 250,000 เมื่อเป็นระยะกลาง ก็จะเคลมได้อีก 250,000 (รวมเป็น 500,000)
*** โรคร้ายแรงระยะสุดท้ายของทุกโรค (ไม่ใช่เฉพาะ 35 โรคตามที่ระบุในระยะแรกและระยะกลาง เนื่องจากโรคที่ 36 คือ การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหมายความว่าเป็นโรคอะไรก็ได้ (ที่ไม่เป็นโรคยกเว้นสำหรับการทำประกัน) ที่แพทย์ระบุว่าเป็นระยะสุดท้าย  ก็สามารถเคลมได้ 100%

ตัวอย่างการเคลมเมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงของ CI Perfect Care


โรคร้ายแรง 36 โรคที่คุ้มครอง ดังรูปต่อไปนี้ (สังเกตุ โรคที่ 36 คือทุกโรคที่อยู่ในระยะสุดท้าย ซึ่งคลอบคลุมมากที่สุดในกลุ่มการทำประกันโรคร้ายแรงทั้งหมด)
1. โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
2. โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต
3. โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
4. เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง
5. ตาบอด
6. โรคมะเร็ง
7. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
8. ตับวาย
9. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย
10. ภาวะโคม่า (Coma)
11. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
12. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
13. การผ่าตัดลิ้นหัวใจ
14. ไตวายเรื้อรัง
15. การสูญเสียการไ้ด้ยิน
16. การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
17. การสูญเสียความสามารถในการพูด
18. แผลไหม้ฉกรรจ์
19. การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
20. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ หรือ ปลูกถ่ายไขกระดูก
21. โรคเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว
22. โรคระบบประสาทมัลติเพิลสะเคลอโรสิส
23. โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
24. โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง
25. อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา
26. โรคพาร์กินสัน
27. โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ
28. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
29. การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
30. ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส
31. สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
32. ภาวะแะแพลิก
33. โรคโปลิโอ
34. โรคถุงน้ำในไต
35. โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม
36. การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย (หากแพทย์ระบุเป็นโรคต่างๆ ที่ไม่อยู่ในข้อยกเว้นการทำประกัน และเป็นโรคในระยะสุดท้ายก็สามารถเคลมรับเงินจากการประกันโรคร้ายแรง CI Perfect Care ได้)

การลดหย่อนภาษีกรณีทำประกันสุขภาพให้บิดามารดา
บุตรที่จะใช้ลดหย่อนภาษีด้านเบี้ยประกันให้บิดามารดา จะต้องเป็นการประกันด้านสุขภาพ (ถ้าเป็นประกันชีวิตจะไม่สามารถใช้ลดหย่อนได้) 
*** CI Perfect care สามารถใช้ลดหย่อนได้แต่ไม่เต็มทั้งจำนวน (เนื่องจากแบบนี้มีเบี้ยประกันในส่วนของความคุ้มครองชีวิตรวมอยู่ด้วย โดยในหนังสือรับรองวการชำระเบี้ยที่จะใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนจะมีระบะยอดเบี้ยที่ชำระที่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีของสุขภาพได้) และเมื่อรวมประกันสุขภาพทุกแบบแล้วไม่เกิน 15,000 บาท 

เมื่อเรารู้เงื่อนไขเหล่านี้แล้ว ก็สามารถวางแผนการทำประกันโรคร้ายแรงให้ตัวเองและคนที่คุณรักได้แล้ววันนี้ โทรมาเช็คเบี้ยประกันเฉพาะคุณกับ วางแผน.com 084-9290088 หรือคลิกที่รูปด้านล่างนี้ค่ะ


เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP® 
นักวางแผนการเงินคุณวุฒิวิชาชีพ Certified Financial Planner™
รับรองโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย


หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง

วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Twitter: @Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

บทความแนะนำ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้