324438 จำนวนผู้เข้าชม |
สมัยก่อน เวลาที่เราจะไปทำเรื่องขอสินเชื่อหรือกู้เงินธนาคาร หากไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือนหรือไม่มีสลิปเงินเดือนมาแสดง ธนาคารก็มักจะดูสเตทเมนท์ เพื่อเช็คยอดเงินรับเข้าต่อเดือน ว่ามีจำนวนยอดเงินสูงพอหรือไม่ เพื่อเป็นการแสดงว่ามีรายได้มากพอที่จะผ่อนสินเชื่อได้ ทำให้คนส่วนใหญ่พยายามทำธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคารเพื่อหวังให้ตัวเองมีเครดิตดีขึ้น น่าเชื่อถือขึ้น เมื่อไปขอกู้ธนาคารจะได้อนุมัติ
แต่ก็มักมีคำถามตามมาอยู่เสมอๆ ว่าถ้ามีการทำธุรกรรม โอน ฝาก ถอน จ่าย มากจนเกินไป หรือมียอดเงินเข้าออกบ่อยหรือจำนวนยอดเงินสูงเกิน จะถูกตรวจสอบมั้ย สรรพากรจะสามารถดูบัญชีธนาคารของเราได้หรือไม่ ซึ่งคำถามต่างๆ เหล่านี้จะเฉลยด้วยกฎหมายตัวใหม่ที่กำลังจะนำออกใช้นี้
ซึ่งก็คือ ร่างกฎหมายพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรักษฎากรเพิ่มเติมฉบับล่าสุด ตามแนวทางของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือที่เรียกว่า National e-Payment Master Plan ระบุว่าให้สถาบันการเงินนำส่งรายงานข้อมูลของบุคคลและนิติบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะพิเศษตามเงื่อนไขด้านล่างนี้ ให้แก่กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบการเสียภาษีว่าถูกต้องหรือไม่
ความเคลื่อนไหวทางบัญชีที่เข้าข่ายว่าเป็นธุรกรรมพิเศษและธนาคารต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร มี 2 กรณี คือ
1. ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร (แยกแต่ละธนาคารนะคะ แต่รวมทุกบัญชีในธนาคารเดียวกันค่ะ)
2. ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปีต่อธนาคารและมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป
เราต้องแยกดูทีละกรณี (2 กรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน) หมายความว่า ถ้าเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าเข้าข่ายเลยจ้า เช่น ถ้ารับเงิน 3,000 ครั้งต่อปี (รวมทุกบัญชีในแต่ละธนาคาร) ก็โดนส่งข้อมูล หรืออีกกรณี ถ้ารับเงินถึง 400 ครั้งต่อปีในธนาคารหนึ่งและเอายอดทั้งหมดมารวมเงินกันได้เกิน 2 ล้านบาทก็ถือว่าโดนเหมือนกัน (แต่ถ้ามีจำนวน 400 ครั้งต่อปี แต่รวมยอดเงินแล้วไม่ถึง 2 ล้านก็ไม่โดนส่งข้อมูลค่ะ) เพราะกรณีข้อ 2 นั้น ต้องครบทั้งจำนวนครั่งและจำนวนเงินด้วยค่ะ
โดยคำว่า ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน ก็หมายถึงการที่มียอดเงินโอนเข้าบัญชีของเรา โดยบุคคลคนหนึ่งมีกี่บัญชีในแต่ละธนาคารก็เอามานับรวมกันทั้งหมด เพราะมีการให้ส่งเป็นรายสถาบันการเงิน
ส่วนในเรื่องของการเชื่อมต่อของแต่ละสถาบันการเงินหรือการดูว่า รวมทุกธนาคารแล้ว คนแต่ละคนมีบัญชีหรือธุรกรรมรวมกันเป็นจำนวนครั้งหรือจำนวนยอดเงินเท่าไหร่ อาจจะต้องคุยกันในอนาคตอีกครั้ง คงต้องรอให้กฎหมายนี้ได้ลองใช้งานจริง คงต้องมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนรายละเอียดกันอีกครั้ง
ข้อกฎหมายใหม่นี้ สนช. ผ่านร่างกฎหมายเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2561 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 มีนาคม 2652 และเริ่มมีการจัดส่งข้อมูลครั้งแรก 31 มีนาคม 2563 แน่นอนว่าการตรวจสอบของสรรพากรนั้นจะทำได้ง่ายและครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะมีธนาคารคอยส่งรายการและรายชื่อที่น่าสงสัยให้แก่สรรพากรโดยตรงทุก ๆ รอบปี
ดังนั้น ในแง่ของบุคคลหรือนิติบุคคลที่ทำธุรกิจหรือธุรกรรมก็ต้องมีการเตรียมตัวรับมือ สิ่งที่ทุกคนควรทำก็คือ ทุกยอดเงินรับเข้าและออกจากบัญชี ควรจะมีการจดรายละเอียดที่มาที่ไปไว้ เผื่อเวลาที่สรรพากรเรียกเราเพื่อไปสอบถาม เราจะได้ชี้แจงได้อย่างถูกต้อง เพราะถึงแม้จะถูกส่งรายชื่อไปสรรพากร ก็ไม่ได้แปลว่า รายชื่อเหล่านั้นจะต้องถูกเรียกเก็บภาษี เพียงแต่จะต้องมีการตรวจสอบและในเบื้องต้นน่าจะมีการเรียกมาชี้แจงตัวเลขรับจ่ายให้เข้าใจและดูว่ามีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หากเรามีการศึกษาวิธีการยื่นภาษีและเสียภาษีให้ถูกต้องแล้ว แม้จะมีการส่งข้อมูลหรือมีการเรียกไปชี้แจงก็จะสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนและไม่มีปัญหา
=========================
ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : 0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันหลากหลายให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ
สอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT
Tel&Line : 0849290088
ผู้จัดการขาย Triple A บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
Facebook: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscribe จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ...