ด่วน!! 5 เคล็ดลับ รับมือกฎหมายใหม่ สรรพากรตรวจสอบบัญชีรับเงินเข้าบ่อย

89516 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตรวจสอบภาษี

จะทำอย่างไรดี หากข้อมูลธุรกรรมการรับการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของเรา ถูกส่งต่อให้กรมสรรพากรตรวจสอบเรื่องความถูกต้องในการเสียภาษีของเรา ในเมื่อเราทุกคนก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง เราจะมีวิธีรับมือกฎหมายใหม่นี้อย่างไร

ก่อนการเตรียมตัวหาเคล็ดลับที่จะรับมือ เราก็จะต้องรู้ก่อนว่ากฎหมายใหม่นี้ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง คนที่ที่เข้าข่ายที่ธนาคารจะต้องรายงานไปยังกรมสรรพากร ก็คือบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีการทำธุรกรรมพิเศษ ซึ่งจะมีการรวบรวมข้อมูลเป็นรายปี โดยแบ่งเป็นจำนวนครั้งและจำนวนเงินรับเข้าบัญชีรวมทั้งปี และส่งรายงานไปยังกรมสรรพากรทุกเดือนมีนาคมของทุกปี

ซึ่งคำนิยามของ ธุรกรรมลักษณะพิเศษ ที่ธนาคารต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร มี 2 กรณี คือ

1. ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร

2. ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปีต่อธนาคารและมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป


โดยที่คำว่าสถาบันการเงินนั้นหมายรวมถึง

1. สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน คือ ธนาคารพาณิชย์ (เช่น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย), บริษัทเงินทุน (เช่น บริษัท ศรีสวัสดิ์), บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (เช่น บริษัท ลินน์ ฟิลลิปส์ มอร์ทเก็จ)

2. สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร)

3. ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน (เช่น บริษัท ทรู มันนี่, บริษัท ตลาด ดอท คอม)

จะเห็นได้ว่า จากกฎหมายนี้จะมีผลกระทบต่อธุรกิจหลากหลายกลุ่มทั่วไปเลยทีเดียว โดยเฉพาะธุรกิจที่มีรายการโอนเงินบ่อยๆ ไม่ว่าจะรับเงินยิบย่อยหรือรับเงินก้อนใหญ่ๆ จะเข้าเงื่อนไขของกฎหมายนี้ทั้งนั้น เช่น ถ้ารับเงินครั้งละไม่ถึงร้อย แต่รับบ่อยๆ นับรวมตลอดปีก็อาจมีจำนวนครั้งเกินกว่า 3,000 ครั้งต่อ 1 ธนาคารก็ได้ แค่นี้ก็อาจถูกตรวจสอบบัญชีและภาษีได้แล้ว

ดังนั้น ถึงเวลาที่เราควรรู้กลวิธีหรือเคล็ดลับในการรับมือกับกฎหมายฉบับใหม่นี้ หากเริ่มมีการใช้จริงจังเราจะเตรียมตัวกันอย่างไร จึงจะปลอดภัยและทำธุรกิจได้อย่างสบายใจ


5 เคล็ดลับ รับมือกฎหมายใหม่ ตรวจสอบบัญชีรับเงินเข้าบ่อย



1. จด
ทุกยอดเงินรับเข้าและออกจากบัญชี ควรจะมีการจดรายละเอียดที่มาที่ไปไว้ ถ้าจะให้ดีควรทำเป็นบัญชีรายรับรายจ่ายให้ถูกต้องว่า แต่ละรายการคือรายการรับค่าอะไร เกี่ยวข้องกับใคร เผื่อเวลาที่สรรพากรเรียกเราเพื่อไปสอบถาม เราจะได้ชี้แจงได้อย่างถูกต้อง

2. สงบ
อย่าวิตกจนเกินไป เพราะถึงแม้จะถูกส่งรายชื่อไปสรรพากร ก็ไม่ได้แปลว่า รายชื่อเหล่านั้นจะต้องถูกเรียกเก็บภาษี เพียงแต่จะต้องมีการตรวจสอบและในเบื้องต้นน่าจะมีการเรียกมาชี้แจงตัวเลขรับจ่ายให้เข้าใจและดูว่ามีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่

3. แยก
เราควรแยกสมุดบัญชีหรือแยกธนาคาร ให้ชัดเจนไปเลยว่า เล่มนี้ ธนาคารเป็นรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับอะไร เช่น แบ่งเป็นบัญชีเงินเดือน บัญชีออมเงิน บัญชีลงทุน เป็นต้น ซึ่งการแยกนี้อาจให้ผลประโยชน์เราได้ เช่น ถ้าเราโอนบ่อย ก็ใช้วิธีเปิดบัญชีฟรีค่าธรรมเนียมการโอน ก็จะช่วยให้เราประหยัดได้ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการชี้แจงสรรพากรของเราในอนาคต

4. ศึกษา
และสิ่งที่เราควรทำอย่างยิ่งในวันนี้ คือศึกษาวิธีการยื่นภาษีให้ถูกต้อง รีบจัดระบบการเงิน และเสียภาษีให้ถูกต้อง ฝึกการคำนวณและรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจหรือเอกสารทางการเงินส่วนตัวของเรา เพื่อให้เราสามารถบริหารเรื่องภาษีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลให้เราประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้นด้วยหากว่าเราสามารถจัดการวางแผนภาษีหรือมีความรู้เรื่องการลดหย่อนภาษีมากขึ้น จะช่วยให้เราจ่ายภาษีได้อย่างถูกต้องและช่วยลดปัญหาในการถูกสรรพากรเรียกไปตรวจสอบได้อีกด้วย

5. เก็บ
เราควรเตรียมข้อมูลและเก็บหลักฐานต่างๆ ไว้ให้เป็นที่เป็นทาง เป็นหมวดหมู่ หาง่าย หากว่าในอนาคตเราถูกสรรพากรเรียกไปชี้แจงข้อมูลด้านการเงินย้อนหลัง ก็จะสามารถระบุข้อมูลของเงินที่เข้าออกในบัญชีเราได้อย่างถูกต้อง และมีหลักฐานครบถ้วน จะช่วยให้เราพิสูจน์ได้ว่า รายได้ของเราตรงตามที่เราได้ยื่นภาษีไปแล้วทุกปีจริงๆ


เคล็ดลับง่าย ๆ 5 ข้อนี้ก็จะช่วยให้เราใช้บัญชีธนาคารได้อย่างสบายใจ และทำงานได้อย่างไรกังวล รวมทั้งการเสียภาษีและการเก็บข้อมูลก็ถูกต้องครบถ้วนทุกประการ อนาคตใครมาเรียกเราไปสอบถาม ก็ตอบได้อย่างไร้กังวลเลยค่ะ 
==========================
ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน พร้อมเบี้ยจ่ายและเงินรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : Tel&Line : 0849290088 หรือคลิกที่นี่ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS 
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันหลากหลายให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ 

โดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®  นักวางแผนการเงินคุณวุฒิวิชาชีพ Certified Financial Planner™ รับรองโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย

ติดต่อเช็คเบี้ยประกัน และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง Tel&Line : 0849290088 หรือคลิกที่นี่ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS 
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้