3306 จำนวนผู้เข้าชม |
ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะลดความคุ้มครองเงินฝากจาก 5 ล้าน เหลือเพียง 1 ล้าน ต่อคน ต่อสถาบันการเงิน
การคุ้มครองเงินฝากคืออะไร คุ้มครองผลิตภัณฑ์การเงินอะไรบ้าง คุ้มครองเท่าไหร่ อะไรคุ้มครองและอะไรไม่คุ้มครอง ใครที่มีเงินฝากในสถาบันการเงินต้องรู้
ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองเงินฝาก
จะคุ้มครองทั้งผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เช่น บริษัก กองทุน มูลนิธิ วัด สมาคม สหกรณ์ บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต ได้รับการคุ้มครองเหมือนกัน
ผู้ฝากจะได้รับความคุ้มครองแบบ 1 รายชื่อผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน โดยเงินฝากจะรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยของผู้ฝากแต่ละคน ในทุกสาขาและทุกบัญชีของสถาบันการเงินนั้นมาคิดยอดรวมกัน
เงื่อนไขความคุ้มครองเงินฝาก คือ
1. ฝากไว้กับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก
2. เป็นสกุลเงินบาท
3. เป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศ
ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง มี 5 ประเภท
เงินฝากกระแสรายวัน
เงินฝากออมทรัพย์
เงินฝากประจำ
บัตรเงินฝาก
ใบรับฝากเงิน
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่น
เงินฝากประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
เงินลงทุนในตราสารต่าง ๆ เช่น พันรบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม หน่วยลงทุน (SSF, RMF)
เงินฝากในสหกรณ์
แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน
เงินอิเล็กทรอนิกส์ (E money)
ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทประกัน
สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)
1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุรยา จำกัด (มหาชน)
4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารทหารไกยธนชาต จำกัด (มหาชน)
6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
11. ธนาคารเกียรตินาคินภักร จำกัด (มหาชน)
12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
13. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
14. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
15. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
16. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
17. ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
18. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไกย) จำกัด (บหาชน)
19. ธนาคารรนชาต จำกัด (มหาชน)
สาขารนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
1. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
2. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
3. ธนาคารซิตี้แบงก์
4. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
5. รนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
6. รนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
7. ธนาคารดอยซ์แบงก์
8. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
9. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
10. รนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
11. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)
1. บริษัทมินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
2. บริษักมินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)
1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด
ข้อสังเกต
ธนาคารที่ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก คือ
ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เนื่องจากธนาคารเหล่านี้จัดเป็นกลุ่มธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ คือ
1) ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารของรัฐบาล มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้มีเงินออมรายย่อย ออกพันธบัตร สลากออมสิน รับฝากเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษาโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ปล่อยเงินกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในวงเงินต่ำ
2) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นธนาคารของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนกู้ยืมเงินไปซื้อที่ดินหรืออาคารหรือซ่อมแซมต่อเติม ไถ่ถอนการจำนองที่ดินและอาคาร พร้อมกับรับฝากเงินของประชาชนทั่วไปด้วย
3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สังกัดกระทรวงการคลัง ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่เกษตรกร ให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปลงทุนด้านการเกษตร
นอกจากนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ยังไม่ให้ความคุ้มครองในกลุ่มเงินฝากของสหกรณ์ต่างๆ ด้วย
สรุป
การทราบข้อมูลเรื่องความคุ้มครองเงินฝากนี้ จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะการดูแลสินทรัพย์ต่างๆ นอกจากจะต้องทำให้มีผลตอบแทนที่ดีแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยด้วย
หากต้องการวางแผนเพื่อดูแลเงินฝากด้วยประกันชีวิต
สอบถามเบี้ยอายุเฉพาะคุณได้ที่ ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ตัวแทนประกันชีวิตตำแหน่งผู้จัดการ คุณวุฒิ MDRT
ให้วางแผนดอทคอมดูแลเรื่องประกันให้คุณสิคะ เรามีบริการหลังการขายตลอดอายุสัญญาค่ะ
ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : 0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
ติดต่อสอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP® , MDRT
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
ผู้จัดการขาย Triple A บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Youtube: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ