10168 จำนวนผู้เข้าชม |
ประกันค่าคลอดบุตร หรือ บันทึกสลักหลังความคุ้มครองการคลอดบุตรพลัส (Maternity Plus) มี 2 แผน คือ
แผน 1 วงเงินรวม 2 ล้าน
ค่าคลอดแบบธรรมชาติ + ค่าฝากครรภ์ 60,000
ค่าคลอดแบบผ่าโดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ + ค่าฝากครรภ์ 80,000
ค่ารักษาภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด สูงสุด 2 ล้าน
ค่าขูดมดลูกและค่าถ่างขยายปากมดลูกเนื่องจากการแท้ง สูงสุด 2 ล้าน
แผน 2 วงเงินรวม 4 ล้าน
ค่าคลอดแบบธรรมชาติ + ค่าฝากครรภ์ 150,000
ค่าคลอดแบบผ่าโดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ + ค่าฝากครรภ์ 200,000
ค่ารักษาภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด สูงสุด 4 ล้าน
ค่าขูดมดลูกและค่าถ่างขยายปากมดลูกเนื่องจากการแท้ง สูงสุด 4 ล้าน
เบี้ย (เฉพาะ Maternity plus หรือบันทึกสลักหลังค่าคลอดบุตรเท่านั้น) ยังไม่รวมประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
เนื่องจาก Maternity plus หรือ ประกันค่าคลอดบุตรเป็นบันทึกสลักหลังที่ทำเสริมควบคู่กับประกันชีวิตและประกันสุขภาพ โดยจะทำคู่ อีลิทเฮลท์พลัส หรือทำคู่ ดีเฮลท์พลัสก็ได้ เมื่อนำเบี้ย 3 ส่วนนี้มารวมกัน ก็จะได้ค่าเบี้ยรวมของทั้งกรมธรรม์ดังตัวอย่างนี้
ตัวอย่างเบี้ย กรณีหญิงอายุ 28 ปี
เบี้ยที่แนะนำจะมีทั้งหมด 4 แบบ
คือทำคู่ อีลิทเฮลท์พลัส หรือทำคู่ ดีเฮลท์พลัสก็ได้
จับคู่กับแผนเคลมคลอด แบบวงเงิน 2 ล้านกับ 4 ล้าน
โดยเบี้ยแต่ละแบบจะทำกับประกันชีวิตแบบคุ้มครองตลอดชีพ 99/99 ทุนขั้นต่ำ 50,000 (หากต้องการประกันชีวิตมากกว่านี้สามารถทำได้ค่ะ)
แบบที่ 1 เบี้ย 64,988
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
D health plus วงเงิน 5 ล้าน/ครั้ง d100,000
Maternity plus แผน 1 วงเงิน 2 ล้าน/ท้อง
แบบที่ 2 เบี้ย 100,435
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
D health plus วงเงิน 5 ล้าน/ครั้ง d100,000
Maternity plus แผน 2 วงเงิน 4 ล้าน/ท้อง
แบบที่ 3 เบี้ย 87,584
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
Elite health plus วงเงิน 20 ล้าน/ปี
Maternity plus แผน 1 วงเงิน 2 ล้าน/ท้อง
แบบที่ 4 เบี้ย 122,971
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
Elite health plus วงเงิน 20 ล้าน/ปี
Maternity plus แผน 2 วงเงิน 4 ล้าน/ท้อง
..
...
ระยะรอคอยของประกันเคลมคลอด
เนื่องจากการเคลมค่าคลอด มีระยะรอคอย 280 วัน ดังนั้น ถ้าวันคลอดห่างจากวันที่ทำประกันตั้งแต่ 281 วันขึ้นไปก็คุ้มครองค่าคลอดและอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
การเคลมค่าขูดมดลูกและค่าถ่างขยายปากมดลูกเนื่องจากการแท้ง มีระยะรอคอย 90 วันนับจากวันประกันเริ่มมีผลบังคับ
ดังนั้น การทำประกันเคลมคลอด จึงควรทำก่อนการตั้งครรภ์นะคะ
อ่านวิธีนับวันเพื่อทำประกันเคลมคลอด ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ
https://www.wangpaan.com/content/8505/pregnancy-insurance
เงื่อนไขการเคลม Maternity Plus
1. ประกันเคลมคลอด Maternity Plus จะเริ่มเคลมได้หลังระยะรอคอย (Waiting Period) กี่วัน ?
ระยะรอคอย หรือระยะเวลาที่ยังไม่คุ้มครอง (Waiting Period) นับตั้งแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครอง แบ่งเป็น
รอคอย 90 วัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการถ่างขยายปากมดลูกและการขูดมดลูกกรณีแท้งบุตร
รอคอย 280 วัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์ และค่าใช้จ่ายกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร
2. Maternity Plus เคลมค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร คุ้มครองค่าอะไรบ้าง ?
จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการคลอดเมื่อวันคลอดอยู่ห่างจากวันที่ประกันมีผลบังคับเกิน 280 วัน โดยคุ้มครองทั้ง ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลประจำวัน ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าแพทย์ทำคลอด ค่าแพทย์ดูแล ค่าแพทย์ผ่าตัด หรือค่าบริการในการผ่าตัด (ในกรณีผ่าคลอด) ค่าห้องผ่าตัด ค่าตรววจแล็บ ค่ายาสลบ ค่ายาตามคำสั่งแพทย์หรือค่าบริการการให้เลือดรวมถึง ค่าธรรมเนียมรถพยาบาล ค่าบริการต่างๆ ก่อนคลอดและหลังคลอด
3. ประกันเคลมคลอด Maternity Plus คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการฝากกครรภ์ หรือไม่ ?
คุ้มครองค่าฝากครรภ์ด้วย วงเงินการเคลมจะรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายการคลอดบุตร โดยค่าฝากครรภ์จะเริ่มเคลมได้เมื่อเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วันแล้ว และยกเว้นค่าตรวจพันธุกรรมทารกในครรภ์
4. ค่าใช้จ่ายในการคลอด กรณีซื้อแบบเป็นแพคเก็จคลอดบุตร ประกัน Maternity Plus เคลมได้หรือไม่ และคุ้มครองส่วนไหนบ้าง ?
คุ้มครองเมื่อซื้อเป็นแพคเก็จได้ ซึ่งอยู่รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายการคลอดบุตร และสามารถซื้อล่วงหน้าก่อนวันคลอดได้ ทั้งนี้ วันคลอดต้องเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วัน และจะยกเว้นค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับเด็ก เช่น เมื่อคลอดแล้วตัวเหลืองต้องเข้าตู้อบจะไม่คุ้มครอง
5. กรณีทำประกันบันทึกสลักหลังค่าคลอดบุตรและผ่าคลอดตามความต้องการส่วนตัว โดยมีการวางแผนส่วงหน้าและไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายการคลอดบุตร ได้เท่าไหร่ ?
กรณีดังกล่าวถือเป็นการคลอดแบบธรรมชาติ
แผน 1 สามารถเบิกได้ 60,000 ต่อการคลอด 1 ครั้ง
แผน 2 สามารถเบิกได้ 150,000 ต่อการคลอด 1 ครั้ง
6. การผ่าคลอดแบบมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ คืออะไร มีเงื่อนไขในการเคลมอย่างไรบ้าง ขอยกตัวอย่างกรณีดังกล่าว ?
การผ่าคลอดที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เป็นการฝาตัดคลอดฉุกเฉิน (แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความพร้อมของบุคลากรและเครื่องมือของแต่ละโรงพยาบาล) ซึ่งควรมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
- มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและอุ้งเชิงกราน (Cephalopelvic Disproportion: CPD) ทำให้เด็กไม่สามารคลอดผ่านเชิงกรานแม่ออกมาได้
- มีความผิดปกติของรก เช่น รกเกาะต่ำ ขวางทารออกของทารก (Placenta Previa)
- รกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) ทำให้มีการตกเลือดก่อนคลอด
- มีภาวะแทรกช้อนที่ต้องทำให้คลอดโดยเร็ว เช่น สายสะตือย้อย (Umbilical Cord Prolapsed)
- ทารกอยู่ในภาวะวิกฤติ เสียงหัวใจทารกเต้นช้าผิดปกติ (Fetal Distress) ภาวะความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง หรือมีการแตกของมดลูก (Uterine Rupture)
- มีการคลอดที่เนิ่นนาน (Prolong of Labor)
- ประสบความล้มเหลวจากการซักนำคลอด (Failure Induction)
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง (Transverse Lie) ท่าก้น (Breech Presentation) หรือครรภ์แฝด
- แม่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน (Previous Uterine Scare) ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกของมดลูก หากมีการคลอดเองในท้องถัดมา
- การติดเชื้อของแม่ เช่น แม่เป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศขณะเข้าสู่ระยะคลอด ซึ่งสามารถติดเชื้อไปยังทารกหากผ่านการคลอดทางช่องคลอด
7. หากเป็นการผ่าคลอดโดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดจริง รวมกันได้ 100,000 บาท จะเคลมได้เท่าไรในแต่ละแผน ?
การคลอดนี้ถือเป็นการคลอดแบบผ่า
แผน 1 สามารถเบิกได้ตามจริงและสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง ดังนั้นกรณีนี้ เคลมได้ 80,000
แผน 2 สามารถเบิกได้ตามจริงและสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง ดังนั้นกรณีนี้ เคลมได้ 100,000
8. กรณีผู้ทำประกันตั้งครรภ์ก่อนวันเริ่มมีผลคุ้มครอง แต่วันคลอดเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วันแล้ว สามารถเคลมค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ได้หรือไม่ ?
สามารถเคลมได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการคลอดจะไม่ดูวันที่เริ่มตั้งครรภ์ แต่หากวันคลอดต้องเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วันแล้วก็ให้ความคุ้มครองค่าคลอดได้
9. กรณีลูกค้าตั้งครรภ์ก่อนวันเริ่มมีผลความคุ้มครอง และเกิดการแท้งบุตรสามารถเคลมค่าใช้จ่ายสำหรับการถ่างขยายปากมดลูกและการขูดมดลูกกรณีแท้งบุตรหรือค่าใช้จ่ายกรณีเกิดภาวะแทรกช้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ได้หรือไม่ ?
ไม่สามารถเบิกได้ค่ะ บริษัทประกันจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามบันทีกสลักหลังนี้ สำหรับการตั้งครรภ์ โรคเรื้อรัง การบาดเจ็บ หรือการป่วย ก่อนวันที่บันทึกสลักหลังนี้เริ่มมีผลคุ้มครอง ที่มีผลเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งนำไปสู่ภาวะการแท้งบุตรหรือ การเกิดภาระแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร
10. Maternity Plus ค่าใช้จ่ายกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร คุ้มครองรวมถึงทารก หรือไม่ ?
ความคุ้มครองดังกล่าว ครอบคลุมการรักษาพยาบาลของทารกตอนอยู่ในครรภ์จนถึงเวลาคลอด หลังจากนั้นจะคุ้มครองแม่ที่เป็นผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
11. Maternity Plus คุ้มครองค่าใช้จ่ายหออภิบาลทารกแรกเกิด กับ ค่าตรวจพันธุกรรมทารกในขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ?
ไม่คุ้มครองทั้ง 2 กรณี
================
ฟรี…บริการออกแบบประกันให้ความความต้องการ
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน/ความคุ้มครองที่ต้องการ หรือ งบประมาณเบี้ยประกันต่อปี
แอดไลน์ : https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS หรือ 0849290088
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันพร้อมเบี้ยและรายละเอียดให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ...
สอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT
ผู้จัดการขาย Triple A บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
Line: https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
Facebook: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscribe จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ..